1. การแก้ปัญหา ในชีวิตประจำวันของทุกคน จะต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ มากมายหลายรูปแบบ ซึ่งจะต้องหาทางแก้ไข และวิธีการแก้ไขของแต่ละคนก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานหลาย ๆ อย่าง อาทิเช่น ความสามารถ ความรู้ ประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหา ฯลฯ แต่ถ้านำวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ มาศึกษา พิจารณา สามารถสรุปเป็นทฤษฎีได้ดังนี้ 1) การลองผิด-ลองถูก เป็นวิธีการแก้ปัญหาแบบพื้นฐานที่สุด คือ สิ่งใดผิดก็จะละเว้นไม่กระทำ สิ่งใดถูกก็จะเก็บเป็นฐานความรู้ ไว้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหาในโอกาสต่อไป 2) การใช้เหตุผลประกอบการแก้ปัญหา ในบางกรณีผู้เรียนสามารถให้เหตุผลได้ว่า ทำไมจึงคิด หรือทำเช่นนั้น ซึ่งรูปแบบของการให้เหตุถผลประกอบการแก้ปัญหาของแต่ละคน อาจแตกต่างกัน แต่มีวิธีหนึ่งที่พบบ่อยคือ วิธีขจัด (Method of elimination) กล่าวคือ เราจะเลือกเอาเฉพาะข้อมูลที่อาจ เป็นไปได้ไว้ แล้วค่อยพิจารณาขจัดกรณีที่เป็นไปไม่ได้ทิ้งไปเรื่อย ๆ จนเหลือกรณีที่เป็นไปได้ 3) การใช้ตารางหาความสัมพันธ์ของข้อมูล ซึ่งบางปัญหาไม่สามารถขจัดให้เหลือกรณีเดียว ได้ แต่อาจทำให้เหลือน้อยกรณีที่สุด แล้วพิจารณาความเป็นไปได้ของแต่ละกรณี โดยใช้ตารางหาความ สัมพันธของข้อมูล |
2 แนวทางการแก้ปัญหา
กระบวนการที่จำเป็นในการแก้ปัญหามี 4 ขั้นตอน ดังนี้คือ 1) การทำความเข้าใจปัญหา - ทำความเข้าใจถ้อยคำต่าง ๆ ในปัญหา - แยกแยะให้ออกว่าสิ่งที่ต้องการหาคืออะไร - ข้อมูลและเงื่อนไขกำหนดให้มีอะไรบ้าง เพียงพอที่จะหาคำตอบได้หรือไม่
2) การวางแผนในการแก้ปัญหา แบ่งได้ 2 กรณีคือ
2.1 มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาในลักษณะนั้น ๆ มาก่อน - พิจารณาสิ่งที่ต้องการหา - เลือกปัญหาเก่าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปัญหาที่จะแก้ ทำให้ได้แนวทาง - ปรับปรุงแนวทางในการแก้ปัญหาเก่าให้สอดคล้องเหมาะสมกับปัญหาใหม่ - วางแผนแก้ปัญหา 2.2 ไม่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาลักษณะนี้มาก่อน - พิจารณาสิ่งที่ต้องการหา - หาวิธีการเพื่อให้ได้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ต้องการหากับข้อมูลที่มีอยู่ - พิจารณาดูว่า ความสัมพันธ์นั้นสามารถหาคำตอบได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ต้องหาข้อมูล เพิ่มเติม หรืออาจต้องหาความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น - วางแผนแก้ปัญหา 2.3 ดำเนินการแก้ปัญหาตามแผนที่วางไว้ เมื่อวางแผนเสร็จแล้วก็ดำเนินการแก้ปัญหา ตามแผนที่วางไว้ ระหว่างการดำเนินการ ถ้าเห็นแนวทางอื่นที่ดีกว่า ก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนได้ 2.4 ตรวจสอบการแก้ปัญหา เมื่อได้วิธีการแก้ปัญหาแล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบว่า วิธีการที่ใช้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องหรือไม่
3) ดำเนินการแก้ปัญหาตามแผนที่วางไว้ เมื่อได้มีการวางแผนแล้วก็ดำเนินการแก้ปัญหา ระหว่างการดำเนินการแก้ปัญหา อาจทำให้เห็นแนวทางที่ดีกว่าที่คิดไว้ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้
4) การตรวจสอบ เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบผลลัพธ์ว่า ได้ดำเนินการ แก้ปัญหาตามแผนที่วางไว้ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งสรุปออกมาเป็นแผนภาพได้ดังนี้
|
บทที่ 2 หลักการเเก้ปัญหา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น